หน่วยที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Smartbiz Accounting

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม  Smartbiz Accounting

การติดตั้งโปรแกรม  Smartbiz 

ใบงาน หน่วยที่ 2

โพสท์ใน วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปเพืองานบัญชี | ใส่ความเห็น

หน่วยที่ 1ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้จัดทำบัญชี

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้จัดทำบัญชี

ใบงาน หน่วยที่ 1

โพสท์ใน วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปเพืองานบัญชี | ใส่ความเห็น

บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

สินค้า (Goods or Merchandising) หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตน  สามารถมองเห็นได้จับต้องหรือสัมผัสได้  เป็นสินทรัพย์ที่กิจการซื้อมาเพื่อจำหน่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาผลกำไรจากการขาย  ซึ่งสินทรัพย์ที่กิจการซื้อมาเพื่อจำหน่ายนั้นจะบันทึกไว้ในบัญชีสินค้าจัดอยู่ในประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน

ประเภทของสินค้า

การแบ่งประเภทของสินค้าโดยใช้วัตถุประสงค์ในการซื้อไปใช้ของลูกค้าเป็นเกณฑ์สามารถแบ่งออกได้  2  ประเภ  ดังนี

  1.  สินค้าบริโภค  เป็นสินค้าที่ผู้ซื้อคือผู้บริโภคคนสุดท้ายซื้อเพือสนองความต้องการของตนเองซึ่งอยู่ในปริมาณที่ไม่มาก  แบ่งออกได้ดังนี้      1.1  สินค้าสะดวกซื้อ  เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อบ่อยครั้ง  ราคาไม่สูง                             

1.2  สินค้าเลือกซื้อหรือสินค้าเปรียบเทียบซื้อ  เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ                   

1.3  สินค้าเจาะจงซื้อ เป็นสินค้าที่มีลักษธเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเน้นตรายี่ห้อ                                   

1.4  สินค้าไม่แสวงซื้อ เป็นสินค้าที่ลูกค้าอาจไม่รู้จักหรือรู้จักแต่ยังไม่ต้องการซื้อและไม่แสวงหาซื้อ

1.5  สินค้าอุตสาหกรรม  เป็นสินค้าที่ผู้ซื้อซื้อเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตการแปรรูปหรือใช้ในการประกอบธุรกิจผู้ซื้อ

–  วัตถุดิบ     –  วัสดุและชิ้นส่วน      – สิ่งติดตั้ง     – อุปกรณ์ประกอบ   –  วัสดุสิ้นเปลือง   –  บริการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชิ้นส่วน

เงื่อนไขการซื้อขายสินค้า

1.2.1 ส่วนลดการค้า (Trade  Discounts)
ในการซื้อขายสินค้าเป็นเงินสดหรือเป็นเงินเชื่อ  ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันจะมีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด โดยการให้ส่วนลดปริมาณในการซื้อสินค้าด้วยเงินสดจำนวนมาก เช่น ลดราคาให้ 10% จากการซื้อสินค้า 10,000 บาท และลดให้อีก 5% สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท หรือในกรณีซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 30,000 บาทขึ้นไปจะให้ส่วนลดการค้า 10%
ส่วนลดการค้า (Trade  Discounts)  หมายถึง ส่วนลดที่ผู้ขายลดราคาสินค้าให้ผู้ซื้อทันทีที่มีการซื้อขายกัน โดยมักจะลดให้ร้อยละหรือเปอร์เซ็นจากยอดขาย เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าครั้งละมากๆ การบันทึกบัญชีผู้ขายจะบันทึกบัญชีขายสินค้าโดยใช้ราคาขายหักด้วยส่วนลดการค้า  ส่วนลดการค้าไม่ต้องนำมาบันทึกบัญชี  ตัวอย่างเงื่อนไขส่วนลดการค้า  เช่น
  •  ซื้อสินค้าครบทุก 5,000 บาท ได้ส่วนลด 5%
  • เติมน้ำมันทุก 1,000 บาท ได้ส่วนลด 3%
  • ซื้อสินค้า ชิ้นที่ 1 ชิ้นที่ 2 ลด 50%
  • รับประทานอาหารครบ 1,000 บาท ลดให้ 15%
ตัวอย่างที่ 1  ร้านน้องพรขายสินค้าเชื่อให้ร้านนายหวาน 16,000 บาท ส่วนลดการค้า 10%  การคำนวณจะเป็นดังนี้
 
ราคาสินค้า                                                                        16,000   บาท
หัก ส่วนลดการค้า 10%  (16,000 X 10)                              1,600   บาท
                                                100

ราคาสินค้าสุทธิคงเหลือ                                                        14,400   บาท

1.2.2 ส่วนลดเงินสด (Cash  Discount)
 ส่วนลดเงินสด (Cash  Discount) หมายถึง  ส่วนสดที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ซึ่งผู้ขายจะมีการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงิน (Credit Term หรือ Term of Payment) ไว้ในเอกสารการซื้อขายสินค้า โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 30 – 60 วัน และเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าเร็วขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ด้วยการให้ส่วนลด ซึ่งเรียกว่า ส่วนลดเงินสด (Cash Discount) เงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้า (Credit Terms) ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2/10,n/30  หมายความว่า ผู้ซื้อสามารถชำระหนี้ได้ภายใน 30 วัน หากมาชำระภายใน 10 วัน นับจากวันที่ในใบกำกับภาษี จะได้รับส่วนลด 2%
1/15,n/45  หมายความว่า ผู้ซื้อสามารถชำระหนี้ได้ภายใน 45 วัน หากมาชำระภายใน 15 วัน นับจากวันที่ในใบกำกับภาษี จะได้รับส่วนลด 1%
2/10,EOM. (End month)  หมายความว่า ให้ผู้ซื้อชำระหนี้ภายในสิ้นเดือนของเดือนถัดไป แต่ถ้าผู้ซื้อชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป จะได้รับส่วนลด 2%
2/10 EOM,n/60  หมายความว่า ให้ผู้ซื้อชำระหนี้ภายใน 60 วันนับจากวันที่ปรากฏในใบกำกับภาษี แต่ถ้าชำระหนี้ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดจากเดือนที่ซื้อสินค้าจะได้ส่วนลด 2%
การนับวันครบกำหนดชำระหนี้
วันครบกำหนดชำระหนี้เป็นเงื่อนไขที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการบริหารการเงินของกิจการ สำหรับผู้ซื้อสามารถใช้ในการวางแผนการจัดหาเงินมาชำระหนี้ให้ทันเวลาและเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกิจการที่จะขอรับส่วนลดเงินสดถ้ามีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ ทางด้านผู้ขายจะเป็นประโยชน์ที่สามารถประมาณการเงินสดรับล่วงหน้าในอนาคตได้ และสามารถเตรียมการทวงถามหรือติดตามทวงหนี้ได้อย่างถูกต้อง
 การนับวันครบกำหนดชำระหนี้ให้เริ่มนับถัดจากวันที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นวันที่ 1 จนครบกำหนดเวลาหรืออาจใช้ขั้นตอนดังนี้คือ
  1. นำวันสุดท้ายของเดือนที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นตัวตั้ง
  2. นำวันที่มีการซื้อขายสินค้ามาหักออก
  3. นำวันที่ขาดอยู่ของเดือนมาบวกเข้าไปเรื่อยๆ จนครบกำหนดตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
ตัวอย่างที่ 2  ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 25X6 เงื่อนไขการชำระเงิน 2/20,n/60 การคำนวณวันครบกำหนดจะเป็นดังนี้
 จำนวนวันของเดือน ส.ค.                                                                           31
หัก จำนวนวันที่ขายสินค้า                                                                              2
จำนวนวันคงเหลือ                                                                                      29
บวก  จำนวนวันที่ขาดอยู่ในเดือน ก.ย.                                                              30
จำนวนวันที่ขาดอยู่ในเดือน ต.ค.                                                                        1
จำนวนวันที่ให้สินเชื่อ                                                                                 60

การคำนวณส่วนลดเงินสด

การคำนวณส่วนลดเงินสดมีผลต่อการบันทึกบัญชี เนื่องจากกิจการได้บันทึกบัญชีเจ้าหนี้ไปแล้วจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อมีการจ่ายชำระหนี้จริงๆ ทำให้จ่ายชำระหนี้น้อยกว่าที่ซื้อ ส่วนลดนี้ผู้ขายจะเรียกว่า “ส่วนลดจ่าย” หรือ “ส่วนลดขาย” เป็นบัญชีประเภทค่าใช้จ่ายของกิจการ ส่วนทางด้านผู้ซื้อเรียกว่า “ส่วนลดรับ” หรือ “ส่วนลดซื้อ” เป็นบัญชีประเภทรายได้ของกิจการ การคำนวณส่วนลดเงินสด กรณีที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่นำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมในการคำนวณส่วนลด จะคืดเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น

ตัวอย่างที่ 3 การคำนวณส่วนลดเงินสด
25X6
มิ.ย.  3  ร้านลูกรักขายสินค้าเป็นเงินเชื่อให้ร้านน่ารักเป็นเงิน 14,000 บาท ส่วนลดการค้า 5% เงื่อนไข 2/20,n/45
5  รับคืนสินค้าชำรุดจากร้านน่ารักจำนวน 1,000 บาท
9  รับชำระหนี้จากร้านน่ารักทั้งสิ้น

1. การคำนวณวันครบกำหนดชำระหนี้

จำนวนวันของเดือน มิ.ย.                                                            30
หัก จำนวนวันที่ขายสินค้า                                                              3

จำนวนวันคงเหลือ                                                                   27
บวก จำนวนวันที่ขาดอยู่ในเดือน ก.ค.                                             18
จำนวนวันที่ให้สินเชื่อ                                                              45

ดังนั้น วันครบกำหนดชำระหนี้ คือ วันที่ 18 ก.ค. 25X6

2. การคำนวณส่วนลดเงินสด

ราคาสินค้า                                                                          14,000

หัก ส่วนลดการค้า 5% (14,000 X 5 )                                       700
100
คงเหลือ                                                                             13,300
หัก รับคืนสินค้า                                                                      1,000

คงเหลือลูกหนี้ทั้งสิ้น                                                              12,300
หัก ส่วนลดการเงิน 2% (ภายใน 10 วัน)                                         246
(13,300 – 1,000 = 12,300 X 2 )
100
จำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้                                                       12,054

ดังนั้น วันครบกำหนดชำระหนี้ คือ วันที่ 1 ต.ค. 25X6

 

 

โพสท์ใน วิชาบัญชีเบื้องต้น 2 | ใส่ความเห็น

ใบงาน

ใบงานที่ 1 ใบงานที่ 2 ใบงานที่ 3 ใบงานที่ 5 ใบงานที่ 6 ใบงานที่ 7 ใบงานที่ 4

โพสท์ใน ใบงานบัญชีเบื้องต้น 1 | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

กิจกรรมแข่งขันสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ปีการศึกษา 2560

โพสท์ใน กิจกรรมแผนกบัญชี | ใส่ความเห็น

กิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อ ปีการศึกษา 2560

โพสท์ใน กิจกรรมแผนกบัญชี | ใส่ความเห็น

กิจกรรมวันปีใหม่ 2560

โพสท์ใน กิจกรรมแผนกบัญชี | ใส่ความเห็น

กิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาชีพ ประจำปี 2560

 

โพสท์ใน กิจกรรมแผนกบัญชี | ใส่ความเห็น

ชีวิตลิขิตเอง

โพสท์ใน เพลงเพราะโดนใจ | ใส่ความเห็น

บทที่ 4 การวิเคราะห์รายการค้า

รายการค้า (Business Transaction)
รายการค้า หมายถึง การดำเนินงานในทางการค้าที่ทำให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งของมีค่าเป็นเงินระหว่างกิจการค้ากับบุคคล ภายนอก ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของกิจการค้า
ตัวอย่างรายการค้า
1.นำเงินสดหรือสินทรัพย์มาลงทุน
2.ถอนเงินสดหรือสินค้าไปใช้ส่วนตัว
3.ซื้อสินทรัพย์เป็นเงินสด
4.ซื้อสินทรัพย์เป็นเงินเชื่อ
5.ซื้อสินค้าเป็นเงินสดหรือซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ
6.ขายสินค้าเป็นเงินสดหรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
7.รับรายได้ค่าบริการ
8.จ่ายชำระหนี้
9.รับชำระหนี้
10.จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
11.กู้เงินจากบุคคลภายนอก
12.เจ้าของกิจการถอนใช้ส่วนตัว
ตัวอย่างที่ไม่ใช่รายการค้า
1. การจัดแสดงสินค้า
2. การเชิญชวนและต้อนรับลูกค้า
3. การสาธิตสินค้า
4. การเขียนจดหมายโต้ตอบ
5. การสอนถามราคา

หลักในการวิเคราะห์รายการค้า 5 ประการ คือ
1. สินทรัพย์เพิ่ม (+) ส่วนของเจ้าของเพิ่ม(+)
2.สินทรัพย์ลด (-) ส่วนของเจ้าของลด (-)
3. สินทรัพย์อย่างหนึ่งเพิ่ม (+) สินทรัพย์อีกอย่างหนึ่งลด (-)
4. สินทรัพย์เพิ่ม(+) หนี้สินเพิ่ม(+)
5. สินทรัพย์ลด (-) หนี้สินลด (-)

โพสท์ใน วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 | ใส่ความเห็น